เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ดังนี้g
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา 2547 มีดังนี้
1. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา มีความสอดคล้องกับภารกิจหลักและการกระจายอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. มีความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ
3. มีกลไกในการประสานงานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
4. มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจ
5. คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลต่อสัมฤทธิผลของคุณภาพการศึกษา
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 มีดังนี้
กระจายอำนาจการบริหารของสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน ดังนี้
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 39 มีดังนี้
1. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และ บุคลากรในสถานศึกษา
2. บริหารกิจการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
3. ประสานระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4. เป็นผู้แทนของสถานศึกษาหรือส่วนราชการในกิจการทั่วไป
5. จัดทำรายงานประจำปีต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
6. อนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตร
7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย
8. ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอำนาจ (ปฏิบัติราชการแทน) ม.44 – ม.45
– ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา
– ผู้อำนาจการสำนักฯในกรม ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา
– ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา มีดังนี้
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
2. สถานศึกษามีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ และจัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ แต่จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเห็นชอบ และรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3. การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินให้สถานศึกษาดำเนินการได้ในนามนิติบุคคล
4. นิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องร้อง ให้รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดี
5. สถานศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณและพัสดุตามตามวงเงิน อำนาจที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบ หรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ยกเว้นเงินเดือน
6. การรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง
7. จัดทำระบบการเงิน บัญชี ตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และทรัพย์สินฯ ผู้อุทิศทำหลักฐานการรับ บัญชีรับ-จ่ายฯรายงาน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกสิ้นปีงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบและรายงานเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน โดยเร็ว
8. การยุบ รวม เลิกล้มโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สิน โอน จำหน่ายตามหลักเกณฑ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานกำหนด
กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอจัตุรัส โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนจัตุรัส” มีอักษรย่อว่า “ช.ย.๗” เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น โดยในระยะแรกอาศัยอาคารเรียนโรงเรียนจัตุรัสวิทยานุกูลเป็นที่ทำการและอาคารเรียน